Advertisement
  1. Web Design
  2. UX/UI
  3. Usability

การทำเว็บไซต์สำหรับเด็ก - การใส่เนื้อหาลง HTML

Scroll to top
Read Time: 4 min
This post is part of a series called Web Design for Kids.
Web Design for Kids: HTML Structure
Web Design for Kids: CSS

() translation by (you can also view the original English article)

ยินดีต้อนรับสู่บทเรียนที่สี่ของซีรีย์ การทำเว็บไซต์สำหรับเด็ก ของเรา วันนี้เราจะมาใส่เนื้อหาลงใน HTML กัน

ในบทเรียนก่อนหน้า เราได้ลองเขียนโค้ดโครงสร้าง HTML และได้เรียนรู้กับอิลิเมนต์ของมันบางตัว จากนี้ไปเราจะเพิ่มเนื้อหาของเว็บไซต์เข้าไปยังโครงสร้างที่เราได้เขียนขึ้น

เตือนความจำนิดนึง ไฟล์ที่เสร็จแล้วของบทเรียนนี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ เอาไปดูกันก่อนได้เลย และถ้าคุณติดขัดหรือเจออุปสรรคใดๆ ถามคำถามในกล่องคอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ได้ทันที

กล่องคอนเทนเนอร์

เราจะต้องได้คุยเกี่ยวกับคอนเทนเนอร์อีกหลายครั้งในการสร้างเว็บไซต์ ดังนั้นมันสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่ามันคืออะไร

เนื้อหาของเราทั้งหมดจะถูกวางไว้ภายใต้คอนเทนเนอร์ HTML  แต่ละอันนั้นถูกจัดด้วยอิลิเมนต์ HTML แต่ละอิลิเมนต์มีความหมายพิเศษในตัวมันเอง มันช่วยให้เบราว์เซอร์เข้าใจสิ่งต่างๆ บนหน้าเพจแต่ละหน้า

เมื่อมองดูอีกแง่ ภาพวาดน่ารักด้านบน ตัวสิ่งก่อสร้างนั้นจะเป็นกล่องคอนเทนเนอร์สำหรับใส่หน้าต่าง ประตู และ นาฬิกา เข้าไป หน้าต่างหนึ่งในนั้นก็เป็นกล่องคอนเทนเนอร์ที่ภายในมีนักออกแบบอยู่

การเพิ่มเนื้อหา

จากโครงสร้างที่เป็นคอนเทนเนอร์ที่เรามีอยู่แล้ว เราจะใส่เนื้อหาเข้าไปภายในนั้น อิลิเมนต์ทั้งหมดที่เราเพิ่มเข้าไปในไฟล์ของเราในบทเรียนที่แล้ว ช่วยให้เราจัดเรียงสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น มันช่วยให้สถานที่ที่เราสามารถใส่ข้อความและรูปภาพเข้าไปได้

เริ่มจากบนสุดก่อนเลย!

ส่วน Header

อย่างที่เราเคยคุยกัน ส่วนของ header นั้นอยู่บนสุดของเว็บไซต์และมีอิลิเมนต์ตัวมันเอง <header> ที่เป็นอิลิเมนต์แรกที่อยู่ภายในแท็ก body

1
<body>
2
  <header> </header>
3
</body>

ส่วน header มักจะประกอบไปด้วยบทนำ และ เมนูลิ้งค์ไปยังหน้าอื่น (เรียกว่า navigation หรือเรียกย่อๆ ว่า nav) เว็บไซต์ของเราจะต้องมีการต้อนรับที่อบอุ่นด้วยรูปที่น่ารัก ดังนั้นลองเพิ่มมันเข้าไปเลย

ส่วน Heading

เราต้องแสดงข้อความ "Welcome to Tuts+ Town" บนหน้าเพจ ซึ่งมันเรียกว่าส่วน heading หลัก (main heading)

การทำเว็บโดยทั่วไปเรามี heading อยู่ทั้งหมด 6 ระดับ ซึ่ง h1 นั้นสำคัญที่สุด ส่วน h6 นั้นสำคัญน้อยที่สุด ในข้อความ HTML ที่อยู่ใน heading มักจะเขียนด้วยแท็กต่อไปนี้ <h1>, <h2>, <h3>, <h4>, <h5> หรือ <h6>

"Welcome To Tuts+ Town" นั้นคือ heading หลักของเรา (มันสำคัญมาก) ดังนั้นเราจะพิมพ์มันไว้ระหว่างแท็กเปิดและแท็กปิดของอิลิเมนต์ <h1> นี้

1
<header>
2
	<h1>Welcome To Tuts+ Town</h1>
3
</header> 

เบราว์เซอร์จะแปลผลและรู้ว่ามันเป็นส่วนของ heading ที่ว่านั่นเอง

รูปเมืองของเรา

ในส่วนของ header เราจะมีรูปน่ารักๆ ของเมืองเรา

ภายใต้โฟลเดอร์หลัก "tutstown" คุณต้องการสร้างอีกโฟลเดอร์ "images" และบันทึกรูปทั้งหมดไว้ที่นั่น

รูปภาพทั้งหลายถูกเพิ่มไว้ภายใต้อิลิเมนต์ <img> ภายในแท็กนี้เราจะต้องใส่ตำแหน่งของรูปภาพหรือที่เรียกว่า source แบบนี้

1
<img src="images/townheader.svg"

เห็น / ข้างหลัง src="images" ไหม นั่นเราจะเรียกว่า "ไปที่โฟลเดอร์ image ภายใน / หาไฟล์ชื่อว่า townheader.svg"

จากนั้น ก่อนที่เราจะเสร็จสิ้นแท็ก <img> จะใส่รายละเอียดไว้ภายใต้ แอตทริบิ้วท์ (attribute) alt 

1
<img src="images/townheader.svg" alt="An illustration of Tuts Town tower." />

แอตทริบิ้วท์ (Attribute) คือสิ่งที่เราสามารถเพิ่มไปที่อิลิเมนต์ที่ซึ่งช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้พวกมัน หรือบอกพวกมันว่ามันทำงานอย่างไร มีเพียงบาง attribute นั้นจะทำงานเฉพาะกับอิลิเมนต์บางตัวเท่านั้น เช่นอิลิเมนต์ <img> จะต้องมีแอตทริบิวต์ src และ alt ด้วยไว้เสมอ

สำคัญมาก อิลิเมนต์ <img> นั้นเป็นแบบต้องปิดแท็กด้วยตัวมันเองหรือเรียกว่า self-closing นี่หมายถึงแท็กเปิดและแท็กปิดจะอยู่ในที่เดียวกัน

ทีนี้มาถึงจุดพีคละ!

ถึงจุดนี้เราสามารถเปิดเว็บไซต์ในเบราว์เซอร์ได้เพื่อเห็นสิ่งที่เราได้ทำลงไป ไปที่โฟลเดอร์ "tutstown" และดับเบิ้ลคลิกไฟล์ที่ชื่อ "index.html" ในส่วนนี้จะทำการเปิดหน้าใหม่ในเบราว์เซอร์

และนี่คือเว็บไซต์ของเรา ขณะนี้มันยังไม่มีอะไรมาก แต่เราก็พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมา จากตรงนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องการดูการเปลี่ยนแปลงในเบราว์เซอร์ คุณสามารถบันทึกหรือเซฟ (save) ไฟล์ HTML และกดปุ่มรีเฟรช (refresh) (ปุ่มไอคอนลูกศรกลมๆ ที่อยู่ด้านบน) ของหน้าต่างเบราว์เซอร์

จากนั้น คุณจะสังเกตว่าเราจะยังไม่เห็นรูปเมฆมาแสดง เพราะว่าเรายังไม่ได้ใส่สีเหลืองให้กับ background เราจะได้เรียนเกี่ยวกับสีของพื้นหลัง ตำแหน่งและขนาดข้อความในบทเรียนถัดไปเมื่อเข้าสู่เรื่องของ CSS

ส่วนหลัก (Main Section)

ในส่วนหลักนี้ของเว็บไซต์ของเราจะประกอบไปด้วยข้อมูลจำนวนหนึ่ง เราจะใส่ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองของเราไว้ในอิลิเมนต์ <main> นี้

1
    <body>
2
		<header>
3
			<h1>Welcome To Tuts&#43; Town</h1>
4
			<img src="images/townheader.svg" alt="An illustration of Tuts Town tower." />
5
		</header>
6
		<main> 
7
		</main>
8
	</body>

ส่วนอื่นๆ (Sections)

เรามีกลุ่มที่เกี่ยวข้องสามกลุ่มบนหน้าเว็บไซต์ของเราที่ซึ่งเราจะจัดมันไว้ในสาม section คำว่า section คือส่วนเดี่ยวๆ ของเว็บไซต์ที่มีข้อมูล เรามักจะใช้อิลิเมนต์แยกออกมาคือ <section>

1
    <main>
2
		<section> </section>
3
		<section> </section>
4
		<section> </section>
5
	</main>

มีโครงสร้างอื่นๆอีกมากที่จะตามมา!

ภายใน section ของเรา เราจะมีกรอบเล็กๆ ที่จะสร้าง เช่นกล่องเล็กๆ สำหรับข้อความที่อยู่ถัดจากรูปภาพ

งั้นลองทำสิ่งนี้ในเวลาเดียวกัน สำหรับแต่ละ section จะมีรูปใส่อยู่ภายในอิลิเมนต์นั้นพร้อมกับข้อความ

ลองมาดูโครงสร้างเหล่านี้ก่อนที่เราจะใส่เนื้อหาจริงๆ เข้าไป

1
<section>
2
    <img />
3
    <div>
4
    </div>
5
</section>

จากนั้นเรามาคุยกันเรื่องรูปภาพกันก่อน รูปภาพนี้จะถูกเพิ่มในทางเดียวกับภาพหัว แต่ชื่อไฟล์และรายละเอียดจะแตกต่าง

1
<img src="images/townsleep.svg" alt="Illustration of a Tuts Town hotel." />

อิลิเมนต์ div

อิลิเมนต์ <div> นั้นจะค่อนข้างเป็นอิลิเมนต์สารพัดประโยชน์เลย มันอนุญาตให้เราจัดกลุ่มส่วนต่างๆ ของหน้าซึ่งไม่มีอิลิเมนต์อื่นที่เหมาะกว่านี้อีกแล้ว

1
<div>
2
    <img />
3
    <div>
4
        <!-- A heading and shop list will be added here -->
5
    </div>
6
</div>

ส่วนของหัวและรายการร้านค้าจะอยู่ภายใต้แท็ก <div> นี้

ส่วนหัว (Heading)

เราสามารถเห็นได้ว่าในแต่ละส่วนนั้นจะมีส่วนหัวเล็กๆ เช่น ที่พัก (Sleep), อาหาร (Food) และ ร้านค้า (Shop) สิ่งเหล่านี้จะบอกเราเกี่ยวกับรายการเล็กๆ ทางขวาของแต่ละอัน เราได้ใช้ <h1> สำหรับข้อความแนะนำที่อยู่ด้านบนไปแล้ว ดังนั้นเราจะใช้ <h2>ที่สำคัญลงมาแทนแบบนี้

1
<section>
2
    <img src="images/townsleep.svg" alt="Illustration of a Tuts Town hotel." />
3
    <div>
4
        <h2>Sleep</h2>
5
    </div>
6
</section>

ลิสต์รายการ (List)

มี list ของ HTML อยู่สองแบบ คือแบบเรียงลำดับ ordered (ด้วยตัวเลข) และไม่เรียงลำดับ unordered (จะแสดงปุ่มสีดำแทนที่จะเป็นตัวเลข) ทั้งคู่นั้นเหมาะมากที่จะแสดงข้อมูลในรูปแบบรายการ และแต่ละ section ของเว็บไซต์เราจะมี unordered list (<ul>) กับสิ่งสองอย่าง

ที่ใส่ไว้ภายใต้ลิสต์ใหญ่นั้นคือ list item ซึ่งแต่ละอันนั้นจะเขียนอยู่ภายใต้แท็ก <li>

1
<ul>
2
    <li></li>
3
    <li></li>
4
</ul>

ลิ้งค์เชื่อมโยง (Link)

ลิสต์ต่างๆที่เราเพิ่งเพิ่มเข้าไปนั้นเราจะลิ้งค์ไปที่เว็บไซต์ของร้านค้าอื่น ดังนั้นผู้เข้าเยี่ยมชมของเราสามารถคลิกมันเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อที่จะแปลงคำแต่ละคำ (หรือหลายๆ คำ) ไปเป็นลิ้งค์ที่คลิกได้ เราต้องครอบคำเหล่านั้นด้วย anchor tag หรือที่เราเรียกกันว่าแท็ก a ซึ่งมันจะเขียนด้วยสัญลักษณ์นี้ <a>

เหมือนกันกับทำให้อิลิเมนต์ <img>  นั้นมีแอตทริบิวต์พิเศษ ในส่วนของการเปิดแท็ก <a> เราจะต้องใส่แอตทริบิวต์ที่บ่งบอกถึงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บที่เราต้องการไป (web address) ด้วยแอตทริบิวต์ href

โค้ดส่วนที่เราตามมาจะเป็นตัวอย่างการสร้างลิ้งค์ที่เชื่อมต่อจากคำว่า "here" ไปยังเว็บๆ นี้ https://tutsplus.com/

1
For more tutorials click <a href="https://tutsplus.com/">here</a>.

นั่นคือวิธีที่แน่นอนในการเพิ่มลิ้งค์ไปที่รายการของเรา ด้วยการใส่ชื่อร้านไว้ภายใต้แท็ก a นั้น ทั้งการเปิดและปิดแท็ก a จะอยู่ภายใน list item <li> ความแตกต่างนั้นเพราะ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ร้านค้าจริงๆ ที่จะไปยังเว็บจริงๆ เราจะใส่ # ไว้ใน href เพื่อที่จะไม่ทำให้เราไปยังเว็บอื่น คืออยู่ที่เดิมนั่นเอง

และนี่คือผลงานของรายการร้านค้าที่ที่แสดงขึ้นมา

1
<ul>
2
    <li><a href="#">The Snooze Inn</a></li>
3
</ul>

เราได้สร้าง unordered list และเอา list item ใส่ไว้ภายใต้มันนั้น ยิ่งกว่านั้นเราจะครอบชื่อร้านของเราด้วยแท็ก a อีกด้วย จำไว้ว่า เรายังไม่ได้ใส่สไตล์ใดๆ ในขณะนี้ ซึ่งสีของลิ้งค์จะแสดงสีน้ำเงินซึ่งเป็นค่า default แทนที่จะเป็นสีส้ม

ส่วนของการ Wrap Up

หลังจากเรามีส่วนของ section เต็มที่แล้ว เราจะต้องการย้อนสิ่งเหล่านี้ให้เป็นขั้นที่แน่นอนสำหรับสอง section สุดท้าย แต่ละครั้งเราต้องการแน่ใจว่าเนื้อหามีการเปลี่ยนแปลง ส่วนของโครงสร้าง HTML นั้นจะเหมือนเดิมสำหรับทั้งสาม section แต่ข้อความและรูปภาพนั้นจะแตกต่างกันออกไป

จากนั้น เรามารีวิวโค้ดของ section ทั้ง 3 อันกัน โอ้! มันเยอะมาก!

1
<main>
2
    <section>
3
        <img src="images/townsleep.svg" alt="Illustration of a Tuts Town hotel." />
4
        <div>
5
            <h2>Sleep</h2>
6
            <ul>
7
                <li>
8
                    <a href="#">The Snooze Inn</a>
9
                </li>
10
                <li>
11
                    <a href="#">Zzz Hotel</a>
12
                </li>
13
            </ul>
14
        </div>
15
    </section>
16
17
    <section>
18
        <img src="images/townfood.svg" alt="Illustration of a Tuts Town restaurant." />
19
        <div>
20
            <h2>Food</h2>
21
            <ul>
22
                <li>
23
                    <a href="#">Just Cookies</a>
24
                </li>
25
                <li>
26
                    <a href="#">Cake Too</a>
27
                </li>
28
            </ul>
29
        </div>
30
    </section>
31
32
    <section>
33
        <img src="images/townshop.svg" alt="Illustration of a Tuts Town store." />
34
        <div>
35
            <h2>Shop</h2>
36
            <ul>
37
                <li>
38
                    <a href="#">Puppy Parade</a>
39
                </li>
40
                <li>
41
                    <a href="#">Cool Kittens</a>
42
                </li>
43
            </ul>
44
        </div>
45
    </section>
46
</main>

ส่วนท้ายด้านล่างของเว็บ (Footer)

<footer> นั้นจะเป็นอิลิเมนต์แรกหลังจากแท็กปิดของอิลิเมนต์ <main> มันจะไม่ใส่ภายใต้ main นั้น

เราสามารถเพิ่มอิลิเมนต์ footer เข้าไปในเพจ ซึ่งจะแสดงไว้ในระดับเดียวกับ main เพราะว่าพวกมันนั้นอยู่ภายใต้ body อยู่แล้ว

มีเพียงแค่เนื้อหาเล็กน้อยเท่านั้นที่ใส่ไว้ใน footer เป็นประโยคที่บอกว่าเว็บนี้ใครเป็นคนทำขึ้น (แน่นอน! นั่นคือเรา) ส่วนของเนื้อหาจะถูกครอบไว้ภายใต้แท็ก <p> (อิลิเมนต์ paragraph) ที่ซึ่งใส่ไว้ข้างใน footer อีกที

1
<footer>
2
    <p>Created with enthusiasm by caring residents.</p>
3
</footer>

มาดูพรีวิวแบบเต็มๆ กัน

คุณได้ทำการเซฟเอกสาร HTML ที่ทำขึ้นด้วยตนเองไหม พร้อมกับทั้งรีเฟรชเบราว์เซอร์ที่เราทำงาน ฉันก็ด้วย งั้นมองหน้าตาที่เราได้ทำกัน

ลองมองกลับไปที่อิลิเมนต์ที่เราได้ใช้

เรานั้นได้คุยเเกี่ยวกับอิลิเมนต์ที่แตกต่างจำนวนมากที่นี่ ดังนั้นเรามารีวิวหนึ่งในนั้นที่ใช้ในไฟล์ HTML ของเรากัน

<html> ไว้ครอบ HTML ทั้งหมด
<head> ที่ๆ เราเขียนข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์
<title> หัวข้อของเว็บไซต์ (หรือชื่อด้านบนของ tab)
<body> ครอบเนื้อหาที่แสดงออกจอทั้งหมด
<header> ครอบส่วนของข้อความต้อนรับ
<h1> , <h2> ส่วนของ heading หรือส่วนหัวของเรา
<img> ใส่รูปภาพเข้าไปในเพจ
<main> ไว้เก็บเนื้อหาหลัก (main content)
<section> แบ่งเพจออกเป็น section
<div> อิลิเมนต์สารพัดประโยชน์
<ul> สำหรับใส่รายการที่ไม่ได้เรียงลำดับ (unordered list)
<li> รายการแต่ละอันในรายการรวม
<a> สำหรับทำ link ไปที่อื่น
<footer> เนื้อหาส่วนท้ายสุด

สรุป

ในบทเรียนนี้เราได้เรียนรู้ว่าจะใส่เนื้อหาเข้าไปในโครงสร้าง HTML ได้อย่างไร เราทำด้วยมือเปล่าๆของเราเอง (แน่นอนใช้คอมพิวเตอร์ด้วย)

ถัดไปเราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การสไตล์หรือใส่สีสันให้กับเพจเพื่อให้มันดูสวยงาม และยังง่ายต่อการอ่านและใช้งานอีกด้วย

แล้วเจอกัน

Advertisement
Did you find this post useful?
Want a weekly email summary?
Subscribe below and we’ll send you a weekly email summary of all new Web Design tutorials. Never miss out on learning about the next big thing.
Advertisement
Looking for something to help kick start your next project?
Envato Market has a range of items for sale to help get you started.